วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551

วิดีโอซีดี

ความสำคัญของแผ่น CD

เมื่อทำให้เครื่องเล่นเทปมีเสียงออกมาได้ ก็ถูกพัฒนามาเป็นวีดีโอเทป สามารถทำให้มีภาพมีเสียงออกมาได้ มาถึงเครื่องเล่น CD ที่เคยใช้ฟังเพลงอย่างเดียวก็ได้แก้ไขดัดแปลงให้ เป็น VCD ที่สามารถดูหนังฟังเพลงเล่นคาราโอเกะได้ และให้ภาพเสียงคมชัดกว่า เครื่องเล่นวีดีโอเทป จึงเป็นที่นิยมใช้กันมากอยู่ในขณะนี้ เครื่องเล่น VCD มีการทำงานต่างจากวีดีโอเทปมาก เพราะวีดีโอเทปอ่านข้อมูลด้วยเส้นแรงแม่เหล็กส่วน VCD อ่านข้อมูลด้วยลำแสงเลเซอร์ ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ ควรทำความเข้าใจถึงการทำงานและส่วนประกอบของเครื่อง ช่างซวดลวดจึงงัดเอาตำราปนกับปฏิบัติจริง มาเล่าสู่กันฟังตามความเข้าใจแบบช่างซวดลวดล่ะครับ
จะเริ่มด้วย ตัวสำคัญที่เก็บข้อมูลทำให้มีภาพมีเสียงออกมาให้เราได้ดูได้ชม เป็นตัวกลม ๆ บาง ๆ ที่เราเรียกว่าแผ่น CD ปัจจุบันมีทั้งของแท้ของเทียมมากมายจนผู้ขายหยิบปิดส่วนผู้ซื้อก็ไม่รู้ว่าแผ่นแท้กับแผ่นเทียมเป็นอย่างไรพี่ไทยเห็นขายถูกเป็นต้องซื้อ พอมาเปิดดูเครื่องอ่านบ้างไม่อ่านบ้าง ติด ๆ ค้าง ๆ ขึ้น NO-DISC แบบนี้มีเยอะ ดังนั้นตัวของแผ่น CD ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้ช่างสับสนปนงง เพื่อความเข้าใจปฏิบัติได้ถูกทาง ช่างซวดลวดจะใช้กำลังภายใน ดึงเอาเนื้อของแผ่น CD มาเหยียดออกให้เป็นเส้นตรง เพื่อจะได้ดูให้รู้ว่าภายในเขาเก็บข้อมูลกันอย่างไร จะได้วิเคราะห์อาการเสียเมื่อ ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ดังรูป


ข้อมูลภายในถูกบันทึกด้วยลำแสงเลเซอร์ ทำให้เป็นหลุมมีร่องของสัญญาณและจะมีผลต่อการอ่านของหัว เมื่อตอนเปิดเล่น ด้านนอกเคลือบสารไวต่อแสงให้ราบเรียบเป็นเงาใสเพื่อเป็นเกาะป้องกัน ไม่ให้หลุมสัญญาณชำรุดเสียหายไม่มีรอยขูดขีดและ เป็นสื่อสท้อนกลับที่ดีเมื่อเปิดเล่น

การกำหนดมาตรฐานรูปแบบการบันทึกข้อมูลในแผ่นซีดี
Yellow Book
มาตรฐานแผ่นซีดีรอม(CD-RROM) เพื่อการบันทึกครั้งเดียวแต่บันทึกได้หลายรูปแบบ ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว นอกจากซีดีรอมธรรมดาแล้ว ก็จะมีซีดีรอมอีกประเภทหนึ่งที่มีการบันทึกสัญญาณดนตรีคุณภาพปานกลางลงไปด้วย ในลักษณะ WAVEFORM ที่จะทำงานร่วมกับปฏิบัติการบนวินโดว์ได้
Green Book
เป็นรูปแบบของระบบโต้ตอบกับผู้ใช้เรียกว่า CD-I (CD INTERACTIVE) ระบบนี้จะทำให้ การใช้งานของมันเป็นไปด้วยความง่ายดายเนื่องจากการนำเสนอข้อมูลในเวลาจริงพร้อมกันทั้งภาพและเสียง CD-I ยังมีระบบ CD-I Ready ที่ทำให้เล่นได้ทั้งเครื่องของมันเองและเครื่องซีดีเพลเยอร์ทั่วไป มาตรฐานของกรีนบุ๊ค ก็คือ CD –ROM XA ซึ่งมีการทำงานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าทุกแบบ และบันทึกภาพได้ถึง 100 ภาพ
White Book
เป็นมาตรฐานที่เพิ่มเติมขึ้นมาโดยการอ้างอิงระบบ CD –ROM XA และ CD-I และ VCD ระบบ วิดีโอซีดี ได้ถูกการละเมิดลิขสิทธิ์ และสามารถบันทึกภาพ ได้ 360X240 จุดภาพ มีการบีบอัดภาพด้วยข้อมูลดิจิทัลมากถึง 200ต่อ1 แบบ จึงได้คุณภาพที่ไม่ดี
Orange Book
เป็นการนำเสนอรูปแบบการบันทึกสื่อข้อมูลดิจิทัลที่มีหลากหลายและศักยภาพสูงยิ่งขึ้นไปอีก ได้แก่ ซีดีอาร์ (CD–MO Compact Disc Write Once) สำหรับการบันทึกครั้งเดียว CD-mo compact disc Magneto


การเก็บข้อมูลของแผ่น CD ที่ต้องรู้

การบันทึกจะยิงด้วยแสงเลเซอร์เข้าไปในแผ่นทำให้เกิดเป็นร่องแทรคและหลุมสัญญาณสั้นบ้างยาวบ้าง ตามความเข้มของสัญญาณ (เรียกว่า PIT แต่ในที่นี้จะเรียกว่าหลุมสัญญาณ) ซึ่งตาเรามองไม่เห็นเช่นเดียวกับเส้นแรงแม่เหล็กในเส้นเทป ส่วนด้านนอกจะเคลือบสารใสไวต่อแสงกันไม่ให้หลุมสัญญาณชำรุดเสียหาย และผิวของแผ่นจะต้องเรียบไม่มีรอยด่างดำหรือขีดข่วน แผ่น CD ทั่ว ๆ ไปจะแบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งในแต่ละส่วนมีความหมายต่างกัน ดังนี้
ส่วนที่ 1 อยู่ด้านในสุดมีพื้นที่เพียงเล็กน้อย สำหรับเก็บสัญญาณ LEAD IN หรือ TOC ในวงนี้เหมือนเป็นยามรักษาการณ์ที่จะให้ผ่านเข้าไปได้หรือไม่ และเป็นตัวแนะนำให้รายละเอียด ข้อมูลต่าง ๆ ภายในแผ่น ว่าเป็นหนังหรือเป็นเพลงและมีกี่แทรคบอกจำนวนเพลง คล้าย ๆสารบัญของหนังสือ หรือ เมนูรายการอาหาร แผ่น CD บางชนิดมีการใส่โค๊ดหรือรหัสลับของผู้ผลิตเพื่อป้องกันการระเมิดลิขสิทธิ์ ในส่วนนี้จึงสำคัญมากจะสังเกตเห็นว่า ตอนเปิดเล่นหัวจะเริ่มอ่านผลุบ ๆ โผล่ ๆ อยู่วงในนี้ก่อนถ้าอ่านไม่ได้ก็ไม่ให้ผ่านก็จะพยายามอ่านอีก ถ้าอ่านได้จึงจะเลื่อนออกรอบนอก
ส่วนที่ 2 อยู่ถัดออกมาเป็นชั้นที่เก็บสัญญาณข้อมูลต่าง ๆ เช่นหนังหรือเพลงมีพื้นที่ใหญ่กว่า
ส่วนที่ 3 อยู่ด้านนอกสุดเก็บข้อมูล LEAD OUT สัญญาณนี้ จะเป็นตัวบอกจุดสิ้นสุดของข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในแผ่น และจะเป็นตัวบอกให้หัวถอยกลับเข้าไปที่จุดเริ่มต้น คือด้านในอีกครั้ง










จะเห็นว่าวงในสุดของแผ่นเหมือนกับมีคำสั่งพิเศษที่คอยควบคุมการทำงานของหัวอ่าน ซึ่งก็ต้องรวมไปถึงการทำงานของเครื่องด้วย ในอนาคตที่สดใสนักพัฒนาคงจับเอาตัวอัจฉริยะมาใส่ไว้ในบอร์ดหรือในเครื่องให้สามารถถอดรหัสหรือโค๊ด ของการอ่านครั้งแรกให้ผ่านได้โดยง่าย

ความแตกต่างระหว่างแผ่น VCD กับ แผ่น DVD

เนื่องจากแผ่น CD หรือ VCD มีการเก็บข้อมูลได้น้อยเกินไป จึงได้พัฒนาขึ้นโดยการบีบอัดข้อมูลภายในแผ่นให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าแผ่น VCD ถึง 7-14 เท่า นับว่าเป็นวิวัฒนาการชิ้นใหม่ของเครื่องเล่นภาพและเสียงระบบดิจิตอล ที่มีการอ่านค่าด้วยลำแสงเลเซอร์ เรียกว่าแผ่น DVD
วิธีการทำคือ 1. ทำให้เกิดร่องแทรคของสัญญาณใกล้ชิดกันมากขึ้น 2. ทำให้หลุ่มของสัญญาณเล็กลง จึงบรรจุได้มากกว่า ระหว่างแผ่น CD – VCD – DVD -และแผ่นเพลง MP 3 รวมไปถึงแผ่น เกมส์ และแผ่นโปรแกรมเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ดูจากภายนอกจะมีหน้าตาเหมือนกันทั้งหมด แต่ข้อมูลภายต่างเช่นกัน แผ่นหนัง VCD จะมี 2-3 แผ่นจึงจบเรื่อง ถ้าเป็น KARAOKE ก็จะมี 10 เพลงเท่านั้น แต่สำหรับแผ่น DVD สามารถเก็บข้อมูลที่เป็นหนังได้ถึง 2-3 เรื่องต่อแผ่น ถ้าเป็นเพลงก็จะบรรจุได้เป็น 200-300 เพลงเช่นในแผ่น MP 3 เป็นต้น












รูปเปรียบเทียบระหว่างแผ่น CD กับแผ่น DVD

ความสำคัญระหว่าง แผ่น กับเครื่อง
เมื่อแผ่น CD มีหลายชนิดหลายประเภท เครื่องเล่นแผ่น CD ก็ย่อมมีหลายประเภทด้วยเช่นกัน จะดูเครื่องว่าเล่นอย่างไร สังเกตง่าย ๆ ที่ด้านหน้าของเครื่องจะมีบอก เช่น
VIDEO CD = เล่นแผ่น VCD และแผ่น CD เพลง
VCD / CD / MP3 PLAYER = เล่นแผ่น VCD/ CD / และแผ่น MP3 ได้ด้วย
DVD / CD / VIDEO CD = สามารถเล่นได้ทั้งแผ่น DVD / CD และแผ่น DVD





หน้าเครื่องจะมีบอกว่าเล่นแผ่นชนิดไหน


วิธีดูรายละเอียดของหน้าเครื่องก่อนทดสอบ ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราหยิบแผ่นแผ่นทดลองได้ถูกกับความต้องการของเครื่อง อย่างเช่นหน้าเครื่องมีอักษรบอกว่า VIDEO CD ควรนำแผ่น VCD ไปใส่จึงจะเล่นได้ แต่ถ้าหน้าเครื่องมีอักษรบอกว่า VIDEO CD อย่างเดียว แต่ไปหยิบแผ่น DVD มาใส่เลยเข้าใจว่าหัวเสื่อม เพราะอ่านไม่ผ่านแบบนี้ก็มีบ่อย ด้วยเหตุนี้จึงควรดูแผ่น CD ที่จะนำมาเปิดเล่นให้ถูกต้องด้วยว่าแผ่นไหนเล่นเป็นอะไร “ให้ดูแผ่นนะครับ”











ที่ตัวแผ่นหรือกล่องใส่แผ่น CD ทั้ว ๆ ไปจะติดป้ายเล็กบ้างใหญ่บ้างออกว่าเป็นแผ่น VCD / CD หรือเป็นแผ่น DVD ต้องเลือกให้ตรงกับเครื่องที่ใช้ด้วย บางคนไปเจอแผ่นตามห้างที่มีรูปหนังการ์ตูนมัน ๆ ติดจึงซื้อมาฝากลูกวันต่อมาลูกบอกว่า “พ่อเครื่อง VCD เสียเล่นไม่ได้” เล่นไม่ได้จริง ๆ เพราะว่าแผ่นการ์ตูนมัน ๆ นั้นเป็นแผ่น CD เกมส์จึงเล่นกับเครื่อง VCD ไม่ได้ จะโทษคนขายหรือโทษใครก็ไม่ได้ เพราะตัวเราเป็นคนซื้อมา

ช่างซ่อมซีดี ต้องมีแผ่นไว้ทดสอบ

เรารู้แล้วว่าเครื่องเล่น VCD มีความสามารถเล่นแผ่น CD ได้แตกต่างกัน และแผ่น CD ก็มีมากมายหลากหลายประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของเครื่อง ควรเตรียมตัวเตรียมแผ่นต่าง ๆ ทั้งใหม่ต้นฉบับที่ไม่มีรอยขีดข่วนหรือด่างดำ และแผ่นเก่าที่เล่นได้ไว้ทดสอบดูการทำงาน ของแต่ละเครื่อง ว่าสามารถเล่นได้ตามที่ระบุไว้ที่เครื่องหรือไม่ แผ่น CD ที่ใช้มีดังนี้

1. แผ่นเล่นเพลง CD ไว้เช็คเครื่องเล่นเพลง CD และ VCD
2. แผ่น VIDEO CD หรือ VCD ไว้เช็คเครื่อง VCD – DVD
3. แผ่น DVD ไว้เช็คเครื่อง VCD และ DVD
4. แผ่นเพลง MP3 สำหรับเช็คเครื่อง VCD หรือ DVD ที่เล่น MP3 ได้
5. แผ่นเพลง KARAOKE ทั้งแบบ VCD / DVD / DVCD สำหรับเช็คเครื่อง VCD – DVD
เพื่อการทดสอบที่ถูกต้อง จำเป็นต้องมีแผ่นต่าง ๆ ทั้ง 5 ข้อ และควรมีแผ่นสำหรับไว้ทดลองกับเครื่องที่มีปัญหาจะได้ไม่เสียเวลาตรวจเช็ค

อาการเสียของแผ่น CD และสาเหตุทำให้แผ่นเสีย
อาการ * เล่นได้บ้างไม่ได้บ้างขึ้น NO DISC
* ภาพค้างมีอาการสะดุด
* กระโดดข้ามแทรค
* เล่นได้สักพักตัดขึ้น NO DISC
* เล่นไม่ได้เลยสักพักหน้าปัดขึ้น NO DISC
สาเหตุ * เมื่อเลิกเล่นไม่เก็บเข้ากล่องของแผ่น และวางแผ่นลงกับพื้นที่ไม่เรียบหรือไม่ถูกทาง
* มีฝุ่นทรายเกาะติดแผ่นเมื่อเช็ดทำความสะอาด จะเป็นรอยขีดข่วนมาก
* ใช้มือไม่สะอาดจับแผ่นหรือจับแผ่นไม่ถูกต้อง (ควรใช้นิ้วสอดเข้ารูตรงกลาง ของแผ่น)
* เกิดจากแผ่นมีรอยขีดข่วนหรือแผ่นสกปรก
อาการ * เมื่อเปิดเล่นมีเสียงแผ่นเบียดกับถาด เกิดจาก แผ่นคดงอ
สาเหตุ * วางของหนังทับแผ่น ทำให้แผ่นคดงอ
* วางแผ่นใกล้ความร้อน ทำให้แผ่นเบี้ยว
* ถาดรับแผ่นไม่เรียบคดงอ หรือตั้งแป้นวางแผ่นต่ำเกินไป เมื่อแผ่นหมุนจะถูกเสียดสี














การอ่านข้อมูลจากแผ่น CD

เมื่อนำแผ่น CD ที่บันทึกแล้วไปเปิดเล่น หัว CD จะอ่านข้อมูลด้วยการยิงลำแสงเลเซอร์ขึ้นไปกระทบแผ่น ที่เรียบและเป็นเงาวาวใส ตรงกับใจของแสงเลเซอร์ที่ต้องการ และเป็นเพราะแผ่นหมุนได้สะท้อนกลับ ตรงลงไปหาตัวโฟโต้อย่างแรง ในช่วงที่ไม่มีหลุมแสงสะท้อนจะอ่อนกำลัง และด้วยแรงสะท้อนกลับของแสงที่มีกำลังต่ำ ๆ สูง ๆ เปลี่ยนไปตามหลุมของสัญญาณ เป็นผลทำให้โฟโต้ทำงานน้อยบ้างมากบ้าง ได้สัญญาณออกไปเข้าหน่วยประมวลผล สูง ๆ ต่ำ ๆ จึงทำให้เครื่อง OK


















ถ้าแผ่นไม่ดีจะมีข้อมูลไม่สมบูรณ์ นั้นก็หมายถึงหลุมของสัญญาณไม่ดีหรือขาดหายไป จะทำให้รูปของสัญญาณเสีย เปรียบเสมือนนักขี่มอเตอร์ไซค์วิบาก เมื่อไปเจอทางขาดไม่จอดก็ต้องจบ




ส่วนประกอบของหัว CD

หัว CD หรือ VCD เป็นอุปกรณ์สำคัญของเครื่อง ทำหน้าที่ยิงลำแสงเลเซอร์ ขึ้นไปอ่านข้อมูลจากแผ่น หัว CD จะทำงานได้จะต้องมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. เลเซอร์ไดโอด = ทำหน้าที่ยิงแสงเลเซอร์
2. เลนส์รวมแสง = ทำให้แสงเล็กและคมชัดที่สุด
3. โฟกัสคอยล์ = สำหรับดึงเลนส์ขึ้นลงเพื่อให้แสงคมชัดที่สุด
4. แทรคกิ้งคอย = สำหรับปรับลำแสงให้ตรงกับแทรค
5. IC OE ทำหน้าที่ส่งแสงและรับข้อมูลคือเป็นไดโอดและโฟโต้
ทั้งหมดนี้เรียกรวม ๆ ว่าหัวเลเซอร์ หรือ OPTICAL PICK UP ทั้ว ๆไปจะเรียกว่าหัว CD การทำงานของหัวที่เรามองเห็นผลุบ ๆโผล่ ๆนั้น จะถูกบังคับด้วย IC DRIVE และ TR โดยมีคำสั่งมาจาก IC คอม และหน่วยประมวลผล ว่ามีสัญญาณถูกต้องหรือไม่อย่างไร การสื่อสารทางระบบจะกระตุ้นเตือนให้ชุดหัวเคลื่อนไหวได้ไปด้วยกันทั้งชุด โดยมีเฟืองเป็นตัวฉุดให้ชุดของหัวเคลื่อนไหวย้ายตำแหน่ง ไปตามแทรคของสัญญาณที่อ่านจากแผ่นได้ อย่างพอเหมาะและลงตัว

อาการเสียของหัว CD
1. เล่นได้เป็นบางแผ่นหรือได้เฉพาะแผ่นที่ดี หรือเล่นไม่ได้เลย = หัวเสื่อม เสีย
2. มีภาพมีเสียง สักพักจะกลับมาที่เดิม = เช็คตัวเลนส์
3. อ่านช้ามาก หรือไม่อ่านเลย หน้าปัทม์ขึ้น NO-DISC = คอยล์ขาด เลเซอร์ขาด
4. เล่นได้แต่ภาพค้างกระโดดบ่อย ๆ = เฟืองเลื่อนหัวสกปรกหรือแผ่นเสีย
5. กดเล่นได้แต่ภาพมาช้าตัวเลขของแทรคมาช้า = หัวเสื่อม หรือสกปรก
6. มีเสียงดังกระแทรกของหัวชนกับขอบแรงกว่าปกติ = ตั้งแป้นวางไม่ได้ระดับ









การทำงานของชุดของหัว ซีดี
ลำแสงเลเซอร์ยังมีแนวกระจายออกจากเป้าหมาย เหมือนแสงจากกระบอกไฟฉายที่ปรับให้เป็นจุดเล็ก ๆ ไม่ได้ ดังนั้นส่วนบนของหัว CD จึงต้องติดเลนส์รวมแสงเอาไว้ เพื่อให้เคลื่อนที่หาตำแหน่งข้อมูลบนแผ่นได้คมชัดที่สุด จึงมีขดลวดโฟกัสพันตามแนวนอน เพื่อให้ตัวเลนส์ขยับขึ้นๆ ลงๆได้ ส่วนขดลวดแทรคกิ้งจะพันทางตั้ง 2 ข้างไว้ผลักให้ตรงกับแทรค
แทรคกิ้งคอยส์
คอยส์โฟกัส
เลนส์รวมแสง
หัวที่ใช้กับเครื่องเสียงติดรถ หรือ เครื่อง CD ROM ในคอมพิวเตอร์
ใช้กับเครื่องเล่น CD
หรือเครื่องเล่น VCD
แทรคกิ้งคอยส์
แม่เหล็ก
การทำงานของโฟกัสคอยส์
และแทรคกิ้งคอยส์

















การทำงานของชุด CD ต้องอาศัยกลไกต่าง ๆ ที่ควบคุมด้วยมอเตอร์ ใช้เฟืองและสายพานเป็นตัวฉุดหรือเลื่อนให้ส่วนประกอบของหัวที่ติดอยู่ด้วยกันทั้งหมด เคลื่อนที่ไปตามรางเหล็ก เข้า ๆออก ๆ ได้ตาม ต้องการ

แป้นจับแผ่น
รางเหล็กเลื่อนหัว
เฟืองเลื่อนหัว
ถาดวางแผ่ CD
VR ปรับแสง







การวิเคราะห์อาการเสียข้อมูลตัวเสีย
นอกจากแผ่นและหัว เป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องแล้ว ยังมีส่วนสำคัญอีก 2 ส่วนคือ ภาคจ่ายไฟและแผงบอร์ด สำหรับภาคจ่ายไฟเครื่องเล่น VCD จีนแดงไม่ค่อยมีปัญหายุ่งยาก เพราะใช้หม้อแปลงธรรมดา ใช้ไดโอดเร็คติฟาย และไอซีเรคทูเรท 5V 8V แต่สำหรับแผ่นบอร์ดนั้นมันเป็นตัวเจ้าปัญหามากที่สุด เพราะบรรจุดข้อมูลดูแลระบบทั้งหมด
ที่สำคัญเป็นแผ่นปลิ้น 2 หน้าที่มี R และ C แบบชิฟตัวเล็ก ๆ ติดอยู่ตามลายปลิ้น และตัว R ตัว C เล็ก ๆ นี้เองที่ทำให้ช่างปวดหัว เมื่อกาวที่ติดตัวของมัน เสื่อมสภาพ จะกลายเป็นสื่อไฟทำให้วงจรต่าง ๆ รั่วชอร์ท และที่ขั้วต่อ R-C เหล่านี้ตะกั่วมักหลุดออก ทำให้มีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ จากประสบการณ์ที่เจอเสียบ่อยคือ R และ C ที่มีหน้าตา และจุดเสียดังรูป
ด้านล่างบริเวณของๆตัว c ที่เป้นกาวจะรั่วบ่อย หรือถ้ามียางสนติด ทำให้รั่วได้









แผ่นบอร์ดทุกยี่ห้อที่เป็นปลิ้น 2 หน้าจะต้องมี R หรือ C แบบติดปลิ้นทุก ๆ รุ่นและเคยเจอเสียแทบทุกบอร์ด ถ้ามีอาการเสียการตรวจซ่อมเบื้องต้นให้จับดูตัวไอซีทุก ๆ ตัวถ้าไม่ร้อนมาก ให้คิดถึงตัว R และ C ก่อนเป็นอันดับแรก และอย่าลืมหลังบัดกรีตะกั่วเสร็จต้องคำนึงถึงยางสน จากตะกั่วด้วย เพราะหากยางสนซึมเข้าไปใต้ท้องไอซีหรือใต้ท้องตัว R ตัว C หรือไปติดบริเวณขอบ ๆ จะทำให้ไฟรั่วได้ และยากต่อการแก้ไข เคยเจอบอร์ดที่เคยผ่านช่างมาแล้ว สังเกตเห็นไฟแล็บอยู่ตามขอบของ C ชีฟ สาเหตุมาจากมียางสนเกาะอยู่ การเช็ค C ให้ถอดออกใช้ RX10K วัดถ้าเข็มขึ้นเสีย ใช้ C แบบเซรามิกตัวแบน ๆ สีเหลือง ๆ ใส่แทนได้




การวิเคราะห์อาการเสีย จุดเสีย VCD จีน
เมื่อรู้จักกับส่วนประกอบของเครื่องมาบ้างแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นการวิเคราะห์ถึงอาการเสียและจุดเสียที่พบบ่อยของ VCD จีนและ VCD ทั่วไป และเพื่อให้พื้นที่จุดเสียแคบลง ควรแบ่งการตรวจเช็คออกเป็น 4 ส่วน เมื่อมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นจะได้แยกออกว่าเสียส่วนไหรของเครื่อง

แบ่งเป็น 4 ส่วนเพื่อ ง่ายต่อการตรวจเช็ค
3.แผงหน้าปัทม์
4.โครงใส่แผ่น-หัว
1.ชุดจ่ายไฟ
2.แผ่นบอร์ด









อาการ ไฟไม่เข้าเครื่อง จุดเสียที่เคยพบ มีดังนี้
1. หม้อแปลงไหม้ชอร์ท เครื่องVCD จีนแดง ตัวหม้อแปลงจะร้อนมากเมื่อเปิด นาน ๆ ยี่ห้อ SUPER ที่มีภาคขยายเสียงติดมาด้วยจะร้อนมากที่สุด และจะทำให้ภาพค้างหรือสะดุด ยิ่งเครื่องไหนต้องติดพัดลมเพิ่มเพื่อลดความร้อนให้กับ IC หม้อแปลงจะทำงานหนักขึ้นอีกจนจับไม่ได้เลย ดังนั้นควรเพิ่มหม้อแปลงเล็กๆ แยกติดพัดลมจะดีที่สุด
2. ไดโอดบริดเร็คติฟาย รั่ว-ชอร์ท เพราะร้อนมาก บางครั้งเสียในลักษณะด้านคือ ถอดวัดดีแต่ใส่เข้าไปเสีย ไม่จ่ายไฟหรือจ่ายต่ำมาก ถ้าใช้มิเตอร์ Rx1 วัดจะสังเกตเห็นเข็มต่ำกว่าปกติ แบบนี้ช่างมักจะมองข้ามทำให้หลงทาง เวลาเปลี่ยนตัวใหม่ ควรปล่อยขาลอยขึ้นสูง ๆ เพื่อระบายความร้อนที่ดี และถ้าใส่เป็น A3 จะเย็นกว่า
3. IC เร็คคูเร็ค จ่ายไฟ 5V และ 8V เสีย ชอร์ทหรือขาด ปกติไอซีจ่ายไฟที่อยู่ในเครื่อง VCD จีนแดงจะร้อนมาก จึงเสียบ่อยแต่ซ่อมง่ายเงินดี เพราะเปลี่ยนได้สะดวกและเร็ว แต่ควรจะเพิ่มแผ่นฮิทชิ้งให้ใหญ่ขึ้นและทาด้วยซิลิโคลนจะทนกว่า ถ้าเครื่องไหนถูกยึดติดกับแท่นเครื่องจะยิ่งร้อนมากเพราะพื้นแท่น ได้พ่นสีติดเครื่องไว้ทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดีพอ ถ้าขูดสีออกก็พอใช้ได้
หมายเหตุ ก่อนจะเปลี่ยนไอซีคุมไฟ ควรสังเกตดูแผ่นบอร์ดด้วยว่าต้องการไฟเลี้ยงกี่โวทล์และดูตำแหน่งของซ็อคเก็ตไฟเข้าให้ถูกต้องด้วย เพราะเคยเจอประเภทเอา Recgurate 12 V ใส่แทน 8V หรือใส่ 8V กับ 5V กลับกัน
อาการหน้าปัทม์ไม่ติด มีไฟเข้า
อาการ หน้าปัทม์ไม่ติด มีไฟเข้าเครื่อง มีหลายสาเหตุหลายจุดด้วยกัน ส่วนใหญ่มักเป็นที่แผ่นบอร์ดมีปัญหา ตัวหน้าปัทม์จะไม่ค่อยเสีย วิธีตรวจเช็คหลัก ๆ มีดังนี้
1. เช็คแรงไฟเลี้ยงหน้าปัทม์ต้องมีไฟ ลบ – 30 V ไฟ AC 3 V และ +5V จ่ายให้กับ IC
2. ตรวจดูสัญญาณ CLK หรือ CLOCK ที่ซ็อกเก็ตทั่ว ๆ ไปวัดได้ 3-4V
3. ต้องมีสัญญาณ DAT หรือ DATA ที่ส่งเข้าไปควบคุมไอซีที่แผงหน้าปัด ประมาณ 4V
4. จับดู IC ที่หน้าปัดถ้าร้อนมาก = เสีย และตะกั่วที่แผงหน้าหลวมของจีนแดงหลวมบ่อย
















จากรูปบล็อกเป็นตัวอย่างของเครื่อง VCD จีนแดงที่มีใช้มากที่สุด สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้กับทุกยี่ห้อ ที่ใช้ไอซีคู่เบอร์ ES3210EP และ ES3207P IC 2 ตัวนี้ตีคู่กันอยู่ทุก ๆ เครื่อง

ถ้ามีแรงไฟทุกจุดเป็นปกติแต่หน้าปัดไม่ติด ให้เช็คคำสั้ง DAT และ CLK ที่ส่งมาจากตัวไอซีเบอร์ ES3210 ถ้ามี เสียที่แผงหน้าปัด แต่ถ้าไม่มีสัญญาณสำคัญทั้ง 2 ให้ไปเช็คที่ ไอซี ES3210 และส่วนประกอบทั้งหมด นั้นหมายถึงแผ่น บอร์ด ตัวปัญหาที่มี RC ติดปลิ้นที่เคยเสียบ่อยดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ส่วนอาการและจุดเสีย ของแผงหน้าปัทม์จะมีบอกในรายการต่อไป

อาการ ถาดวางแผ่นไม่เลื่อนออก

เวลาที่ต้องการกดให้ถาดวางแผ่นออก ไม่ยอมออก อาการนี้บางครั้งถูกถอดกลไกออกแล้วไส่ผิดมา ก็มีหลายครั้งมีสาเหตุและวิธีการดังนี้
1. มอเตอร์ฉุดถาด-เสีย การตรวจเช็ค อันดับแรกให้ทดลองของกลไก โดยใช้มือขยับถาดเข้า ๆ ออก ๆ ดูจะต้องไม่ฝืดไม่ฝืด จากนั้นให้ลอยมอเตอร์ออกจากวงจรใช้มิเตอร์ Rx1 วัดและใช้มือช่วยดันถาดเข้าออก ๆ ปกติถาดจะขยับได้บ้างพร้อมกับเข็มขึ้น ๆลง ๆได้
2. สายพานมอเตอร์เสีย ถ้าสายพานที่ติดมอเตอร์หย่อนยาน ถ้าเข้าออกไม่ได้ เช่นกัน
3. ไอซีหรือ TR ที่จ่ายไฟควบคุมมอเตอร์ เสีย วัดไฟที่มอเตอร์ ขณะสั่งงานจะต้องมี และเปลี่ยนแปลงได้ถ้าไม่มีให้ไล่ไปที่ ไอซีไดร์ฟ เช็คแรงไฟและคำสั่งต่าง ๆถ้ามีครบเกิดจากไอซีเสียที่ใช้มากคือ KA9259 , BA6392P, ถ้าไอซีเสียมักจะร้อนมาก
อาการ ถาดเลื่อนเข้าออกเอง อาการนี้บางครั้งก็เล่นได้ถ้าถาดเข้า
1. สวิตซ์ตรวจตำแหน่งของถาด เสีย สกปรก เป็นสวิทซ์อยู่ใต้ถาดไม่สัมผัสหรือใส่ถาดผิด
2. IC ไดร์ฟ เสีย
ไอซี KS9284
ที่ลูกศรชี้ เป็นไอซีขับมอเตอร์ที่เสียบ่อย ติดอยู่กับแผ่นบอร์ดรุ่นต่าง ๆ
















อาการ ภาพค้างเป็นลายตาราง
ภาพจะเหมือนถูกเซนเซอร์ใน TV เป็นช่องเล็ก ๆ ค้างอยู่ หรือบางเครื่องจะค่อย ๆ ขยับหายไปแต่ไม่หมด
1. IC DSP เสีย เนื่องจากไอซีตัวนี้จะเป็นตัวเก็บข้อมูลไว้สำรอง เหมือนเก็บของไว้ใช้นาน ๆ ถ้าเมื่อใดเจอแผ่นไม่ดีไม่อ่านต่อ ก็จะทำให้ภาพค้างและที่ค้างได้ก็เพราะ IC ตัวนี้เก็บภาพเดิมเอาไว้แล้วปล่อยไปใช้งานในจังหวะที่ข้อมูลขาดหาย

อาการ เล่นได้ แต่ภาพค้าง ภาพสะดุดบ่อย
อาการนี้มีสิ่งพัวพันกันหลาย ๆ อย่าง ก่อนอื่นควรทดสอบด้วยการใช้แผ่นที่ดีลองดูก่อนเพราะถ้าแผ่นมีรอยขูดขีดผิวแผ่นไม่ดี มีคราบสกปรก ก็จะเกิดอาการทำให้ภาพค้าง ภาพสะดุดได้ ถ้าลองแล้วไม่ดีขึ้นให้ไปดูที่เคยเสียดังนี
1. เกิดจากเฟืองเลื่อนหัวสกปรกหรือเสีย รายการนี้ จะสังเกตได้ถ้าเครื่องมีฝุ่นมาก ๆ มักจะพบว่าเฟืองสกปรก เนื่องจากมีฝุ่นทรายเกาะติดอยู่ ตามเขี้ยวของเฟือง และติดที่รางเหล็กเลื่อนหัว เป็นเหตุทำให้ส่วนของหัวเดินสะดุด ให้ใช้แปรงสีฟันนิ่ม ๆ ทำความสะอาดก็ใช้ได้
2. เกิดจาก สายแพบกพร่อง เครื่อง VCD จีน ทั่วไปมักจะมีปัญหาในเรื่องของการเลื่อนออกของหัวอ่านจากช่วงกลาง ๆ ออกไปด้านนอกสุด พบว่าสายไฟที่รวบกันเป็นชุด ๆ นั้นถูกจัดไว้ไม่ดี ทำให้มอเตอร์ สไลท์ ต้องฝืนกว่าปกติ เพราะสายไฟที่อยู่ด้านหลัง และทำให้สายแพที่เสียบกับชุดหัว คดงอหลุดหลวมไม่เข้าที่ จึงเกิดอาการภาพค้างบ่อยอาจทำให้เสียได้เช่นกัน
3. เกิดจาก ภาคจ่ายไฟเสีย จ่ายต่ำ อาการที่ทำให้ภาพสะดุด ภาพค้างหลังจากนั้นเครื่องจะหยุดทำงาน ต้องกดเล่นซ้ำอีกครั้งจึงเล่นได้อีก สักพักก็เป็นเหมือนเดิมอีก สาเหตุมาจาก
3.1 ไดโอดบริด 4 ตัวเสีย จากประสบการณ์พบว่าตอนเครื่องร้อนจัด วัดไฟทางออก เร็คกูเรทเบอร์ 7805 ได้ +5V แต่วัดไฟทางเข้าของไอซี REG 5V มีไฟต่ำเพียง 8-9V ปกติ 12V ทำให้ภาพสะดุดค้างได้ จึงไม่ควรวัดไฟเฉพาะไฟ +5V อย่างเดียวให้เช็ค 12V ด้วย
3.2 ไอซีเร็คคูเรดเบอร์ 7805 เสีย เปิดใหม่ ๆ วัดได้ 5V พอไอซีเริ่มร้อน ไฟจะค่อย ๆ ต่ำลง 3-4V เกิดอาการภาพค้าง เช่นกัน การแก้ไขให้เพิ่มระบายความร้อน
4. เกิดจาก C ฟิลเลอร์ +12V เสีย ต้องใช้ค่า 4700/25 ภาพดีถ้าใส่ค่า 3300/16 ภาพสะดุดค้าง




เฟืองเลื่อนหัวสกปรก ฝืดทำให้ภาพค้างภาพสะดุด
ไดโอดบริดร้อนมาก ไฟจ่ายต่ำ เสียบ่อย
C ฟิลเตอร์ +12V เสีย จะบวม
เปลี่ยนเป็นค่าใหม่เพิ่มขึ้น 4700ufd
IC Reg 5V 8V เสีย ภาพค้างสะดุด










อาการ เล่นได้แต่ภาพมาช้า มาก
อาการนี้ตัวเลขนับแทรคจะขึ้นช้าด้วย หรือไม่ขึ้น เล่นไม่ได้เลย
1. เกิดจาก หัวเสื่อม หัวเสีย ทดสอบด้วยแผ่นที่ดียังช้าอยู่ ลองทำความสะอาดหัว และปรับ VR ที่อยู่กับหัวไปทีละนิดเพื่อเร่งแสงเลเซอร์ แล้วนับวินาที เทียบกับเวลาเดิม ถ้าช้าลงกว่าเดิมแสดงว่าปรับผิดทาง ถ้ามีสโคปให้วัดค่ามาตรฐานของสัญญาณ RF จากจุด EFM ที่บอร์ด ว่ามีตามสเป็กหรือไม่ ปกติมีรูปสัญญาณอยู่ระหว่าง 1.2 Vp-p ถึง 1.4 Vp-p ตามมาตรฐานของหัว CD ที่ใช้มากเช่นเบอร์ KSS-213B ถ้าต่ำกว่า 1.2 Vp-p หัวอาจมีปัญหา (การปรับแต่งควรใช้แผ่นทดสอบ)
ถ้าสัญญาณต่ำ ให้ทำความสะอาดเลนท์ที่หัว โดยเช็ดทั้งด้านบนและด้านล่างรวมทั้งกระจกเฉียงที่อยู่ด้านในช่องหัวอ่านด้วย ถ้าได้สัญญาณเพิ่มจากเดิม แสดงว่าหัว CD ยังคงใช้ได้ แต่ถ้ายังต่ำอีกให้ปรับ VR เพิ่มกระแสปืนเลเซอร์ไดโอดขึ้นอีก แต่ต้องระวังถ้าปรับสว่างมากอาจทำให้เลเซอร์ขาดได้ ถ้าปรับไม่ได้ผลตามต้องการ แสดงว่า หัวอ่านเสื่อม/เสียแน่นอน ดังรูปการปรับแต่ง


ปรับ VR อยู่ที่ชุดของหัว ตั้งสโคปที่ 0.5 V Div
วัดสัญญาณ RFให้ได้สูงและคมชัดที่สุด
VR เกีอกม้าติดอยู่กับชุดหัว CD ปรับลำแสงเลเซอร์ให้พอเหมาะสามารถอ่านแผ่นได้ดีที่สุดดังรูปสัญญาณ EFM
การใช้น้ำยาทำความสะอาดหัว CD















1.4 Vp-p สูงสุด
1.2 Vp-p ต่ำสุด
แสดงว่าหัวใช้ได้





อาการ ใส่แผ่นได้สักพัก ขึ้น NO-DISC
เป็นความรู้สึกของเครื่องเมื่อมองไม่เห็นข้อมูลจึงบอกว่าไม่มีแผ่นมองไม่เห็นแผ่น เป็นอาการที่พบบ่อยมากที่สุ เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับเครื่อง VCD ทุก ๆเครื่องจนบางครั้งแยกไม่ออกเพราะสามารถ เสียได้หลาย ๆสาเหตุ แต่บางอาการก่อนจะขึ้น NO-DISC ก็ชัดเจนมาก ดังนั้นจะซ่อมเครื่อง VCD จะเป็นช่างอย่างเดียวคงไม่ได้ “ต้องเป็นช่างสังเกตด้วย” การตรวจเช็คต้องลำดับทุกขั้นตอนของหัวอ่าน ดูการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ดังนี้
1. เปิดเครื่องหน้าปัดติด หัวอ่านจะเลื่อนเข้าด้านในสุดจนถึงสวิทซ์ลิดอินที่อยู่ใต้รางเหล็กนั้น
หัวจะขยับ ถอยออกเล็กน้อย เพื่อจะอ่านสัญญาณแรกของแผ่น
2. กดให้ถาดใส่แผ่นเลื่อนออกแล้ว กดให้กลับเข้าไปใหม่ โดยไม่ต้องใส่แผ่น CD
3. พอถาดเข้าสุดตัวมอเตอร์หมุนแผ่นจะหมุน เล็กน้อย =เพื่อให้หัวได้อ่านหลายจุด
4. จะสังเกตเห็นเลนส์หัวอ่าน ยกขึ้นยกลงผลุบ ๆ โผล่ ๆ 3-4 ครั้ง =ไม่เจอข้อมูล
5. จากนั้นมอเตอร์ หมุนแผ่น จะหมุนอีกเล็กน้อย = ขยับแผ่นเพื่อให้หัวได้อ่านอีกครั้ง
6. หัวจะขยับออกนิด ๆ และผลุบ ๆโผล่ ๆขึ้น ๆลง ๆอีก 3-4 ครั้ง =ไม่มีข้อมูลอีก
7. ขณะหัวยกขึ้นยกลงให้สังเกตจะต้องมีแสงสีแดงออกมาที่เลนส์ (ไม่ใส่แผ่นจึงจะเห็น)
8. เมื่อหัวพยายามอ่าน ขึ้นลงๆรวม 6 ถึง 8 ครั้งใช้เวลาประมาณ 8 ถึง 10 วินาทีจากนั้นจึงมี
คำสั่งออกมาจากแผ่นบอร์ด บอกให้หน้าปัดโชว์คำว่า NO-DISC =ไม่พบข้อมูล
นี้คือขั้นตอนการทำงานของเครื่องที่ดีไม่มีแผ่น จะเห็นว่าหัวเลเซอร์จะพยายามอ่านอีกหลายครั้งก่อนขึ้น NO-DISC จึงขอให้นำหลักการนี้ไปทดลองปฏิบัติ กับเครื่องที่มีปัญหาได้กับทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ว่ามีข้อไหนบ้างผิดปกติ จากนั้นวิเคราะห์หาจุดเสียซึ่งจะได้กล่าวในหน้าถัดไป
ในกรณีที่ใส่แผ่นเข้าในเครื่องปกติ มอเตอร์จะหมุนแผ่นทันที ถ้าอ่านข้อมูลจากแผ่นได้หน้าปัดจะแสดงเลขของแทรคขึ้น พร้อมกับมีภาพมีเสียงออกจอ TV แต่ถ้าใส่แผ่นแล้วรู้สึกว่าหัวอ่านนานผิดปกติ จะมีเสียงแผ่นหมุนเร็วบ้างช้าบ้าง ถือว่าปกติ

รูปแทรคสัญญาณวงในจะสั้นกว่าวงนอก หัวจะเริ่มจับรองแทรคเส้นในแล้วคลายออกมาด้านนอก จึงทำให้แผ่นหมุนเร็วตอนหัวอ่านอยู่วงใน และหมุนช้าเมื่อหัวอ่านอยู่วงนอก









ตรวจเช็คอาการ หน้าปัดขึ้น NO-DISC
เครื่อง VCD ทั่ว ๆไปก่อนที่หน้าปัทม์จะขึ้น NO-DISC จะสังเกตเห็นว่าใช้เวลานานประมาณ 8 ถึง 10 วินาที จึงทำให้เรามีเวลาสามารถสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติก่อนขึ้น NO-DISC ตั้งแต่ข้อ 1 ถึง 8 ตัวเสียที่พบมีหลายจุดหลายสาเหตุ มีอาการและจุดเสียลำดับได้ดังนี้
อาการ หัวไม่เลื่อนเข้าวงในได้สุด ทำให้ขึ้น NO-DISC
เกิดจาก เฟืองเลื่อนหัวติดขัดหรือใส่ไม่ถูกต้องเมื่อถอดซ่อม รางเหล็กเลื่อนหัวสกปรก สายแพที่ต่อจากบอร์ดมาเข้าหัว ตึงเกินไปหรือหลุดหลวมสกปรก ตัวพลาสติกล็อคแกนรางเหล็กเสียทำให้เข้าไม่สุดได้ ตัวมอเตอร์สไลร์เลื่อนหัวเสีย ให้ลอยออกใช้ RX1 วัดดูปกติจะหมุนแรงสม่ำเสมอ เข็มขึ้นเล็กน้อย
การตรวจซ่อม ให้เช็คไฟที่ขั้วมอเตอร์สไลร์ถ้ามี มอเตอร์เสีย ถ้าไม่มี ให้เช็คไฟที่ออกจากขาไอซีขับมอเตอร์ ส่วนมากใช้เบอร์ BA6392FP และ KA9259 ถ้าแสดงว่าสายแพขาดเสียหลุดหลวม ถ้าไม่มีไฟออกจากขา IC ให้เช็คไฟจ่ายให้ IC และไฟสั่งให้หัวเลื่อนเข้าออกที่ส่งมาจาก IC คอม ถ้ามี IC ขับเสีย ถ้าไม่มี IC SSP เสีย



อาการ หัวเลื่อนเข้าสุดได้แต่ไม่ขยับออก ปกติแล้วเมื่อหัวเข้าสุดแล้วหัวจะต้องขยับออก
เกิดจาก สวิทซ์ลีดอิน เสีย เป็นสวิทซ์ที่อยู่ใต้รางเหล็กเลื่อนหัว ทำหน้าที่ตรวจสอบว่าหัวเลื่อนเข้าสุดหรือไม่ หรือเป็นแจ้งเตือนบอกว่าพบหัวแล้ว ส่วนมากสวิทซ์ตัวนี้จะค้าง หรือสกปรก ให้ทำความสะอาดก็ใช้ได้















ซ่อมอาการขึ้น NO-DISC และจุดเสีย
อาการ มอเตอร์หมุนแผ่นไม่หมุน ถ้ามอเตอร์หมุนแผ่นไม่หมุนทำให้ NO-DISC ได้
เกิดจาก IC ขับมอเตอร์ เสีย หรือตัวมอเตอร์เสียเอง
การตรวจเช็ค วัดแรงไฟที่ขาของมอเตอร์ ถ้ามีให้ลอยออก ตั้งมิเตอร์ Rx1 วัดปกติจะต้องหมุนได้สม่ำเสมอและเข็มขึ้น ถ้าไม่มีไฟที่ขั้วของมอเตอร์ให้ไล่ไปที่บอร์ดเช็คไฟเลี้ยง IC ไดร์ฟขับชุดมอเตอร์ส่วนมากใช้เบอร์ BA6392FP และ KA9259 ที่ขา 21-22 คือ ไฟ +8V จ่ายเข้า รายละเอียดของขาไอซีทั้ง 2 อยู่ท้ายบทความนี้ ถ้ามีไฟแต่มอเตอร์ยังไม่หมุน ให้เช็คคำสั่งขับมอเตอร์หมุนแผ่น ถ้ามีทั้งไฟและสัญญาณแต่แผ่นไม่หมุน IC ไดร์ฟขับมอเตอร์เสีย (ถ้า IC เสียมักจะร้อนมาก)
อาการ หัวไม่ยกขึ้นไม่ยกลง ปกติเมื่อถาดเข้าสุดจะมองเห็นหัวอ่าน ผลุบ ๆ โผล่ ๆ ขึ้นลง ๆ
เกิดจาก โฟกัสคอยขาดเสีย ไอซีขับเสีย ส่วนมากพบที่ จะเป็นไอซีตัวเดียวกันกับไอซีขับมอเตอร์

การตรวจเช็ค
1. ใช้ไม้พันสำลีลองกดหัวเลนส์ดูจะต้องขยับขึ้นลงได้อย่างสะดวก ถ้าไม่ขยับแสดงว่าขดลวด
โฟกัสคอยล์ไหม้ติดแกน (เปลี่ยนทั้งหัว)
2. ถอดสายแพเข้าหัวออกจากนั้นใช้มิเตอร์ Rx1 สลับสายวัดที่จุดเข้าคอยล์ดี ถ้าเข็มมิเตอร์ไม่
ขึ้นเลนส์ไม่ยก ขดลวดขาด ถ้าเข็มขึ้นแต่เลนส์ไม่ยกแสดงว่าขดลวดชอร์ท
3. ถ้าการเช็คตามข้อ 1-2 ดี ให้ไปเช็ควงจรขับโฟกัสโดยวัดไฟเข้ามาเลี้ยง IC ถ้าไม่มีไปเช็ค
วงจรเร็คคูเรด 5V-8V ถ้ามี ไปเช็คคำสั่งไอซีขับโฟกัสคอยล์ ถ้ามี IC เสีย ถ้าไม่มี
IC เซอร์โว SSP เสีย
อาการ เลนส์ยกขึ้นลงได้ แต่ไม่มีแสงเลเซอร์สีแดงออก ขณะที่หัวยกขึ้น จะมีแสงสีแดงออกเป็นจังหวะ ๆ ตามการเคลื่อนไหวของเลนส์ (ไม่แดงตลอด แต่จะแดงเป็นจังหวะ)
เกิดจาก เลเซอร์ไดโอดเสีย เป็นปืนยิงลำแสงเลเซอร์อยู่ในช่องใต้กับเลนส์ หรือเป็นที่ทรานซิสเตอร์ จ่ายไฟให้เลเซอร์เสีย บางครั้งที่เจอคือ C แบบติดปลิ้นเสีย
การตรวจซ่อม วัดไฟให้เลเซอร์ไดโอดจะต้องมีไฟ ประมาณ 1.2V ถึง 1.7V ถ้ามีไดโอดเสีย ถ้าไม่มีให้ไล่ไปที่บอร์ด ส่วนมากจะเป็น TR ทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายไฟให้กับปืนยิงเลเซอร์








ไม่มีแสงเลเซอร์ วิธีตรวจเช็ค และจุดเสีย
พื้นฐานเรียนรู้เบื้องต้นของเครื่องเล่นแผ่น CD ทุกยี่ห้อจะต้องมีวงจรจ่ายไฟให้กับเลเซอร์ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ TR เป็นตัวจ่ายไฟ หลักการนี้สามารถนำไปใช้ได้ กับเครื่อง CD / VCD / DVD ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ โดยมีขั้นตอนการทำงานร่วมกับโฟโต้ ที่ติดอยู่กับเลเซอร์ ดังนี้
เมื่อโฟโต้ได้รับข้อมูลที่สะท้อนกลับจากแสงเลเซอร์ จะส่งออกไปเข้าขา 69(PD) ไอซีตัวใหญ่ KB9223 เพื่อนำไปใช้งาน ซึ่งจะสลับซับซ้อนภายในไอซี และออกมาที่ขา 70 (LD) เพื่อกลับไปควบคุมแสงเลเซอร์ ช่างทั่ว ๆ ไปจะต้องเช็คที่ขา C และขา B ของ TR ว่าขณะที่ PLAY มีคำสั่งป้อนให้ขา B แล้วหรือยัง ดังรูปตัวอย่างวงจร












จากรูปวงจรตัวอย่างทุกเครื่องจะมี C ชิฟแบบติดปลิ้นต่อคร่อมที่ขา B กับขา E ถ้ารั่วหรือชอร์ทจะขึ้น NO DISCไม่มีแสงหรือมีแสงจะค้างอาการเสียของวงจรหน้าปัทม์จะขึ้น NO-DISC
อาการ มีแสงค้าง = TR รั่วชอร์ท C ชิฟรั่ว
มีแสงค้าง = ขา 70 ของไอซีเป็น L 0V ตลอด = IC ไอซีเสีย
ไม่มีแสง = ขา 70 ของไอซีเป็น H มี 5V ตลอดเวลา = IC เสีย
ไม่มีแสง = TR ขาด C อีเล็กโตร ขา B ไป + 5V รั่ว ชอร์ท


อาการ อ่านช้ามาก แล้วขึ้น NO DISC
กลไกก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการหน้าปัดขึ้น NO DISC เล่นไม่ได้
เกิดจาก ใส่แป้นวางแผ่นไม่ได้ระดับที่ถูกต้อง จากประสบการณ์ พบว่าหลังจากผ่านการเปลี่ยนมอเตอร์มาแล้ว ใส่แป้นวางแผ่นที่สวมอยู่บนแกนมอเตอร์หมุนแผ่น ไม่ได้ระดับที่ถูกต้อง ทำให้ระยะของโฟกัสผิดไป จึงทำให้หัวพยายามอ่านแล้วอ่านอีกหลายครั้ง ก่อนขึ้น NO DISC อาการนี้บางครั้งจะได้ยินเสียงหัวตีกับฝาครอบเลนส์ดังกว่าปกติ เพราะหาจุดโฟกัสไม่ได้
ดังนั้น จะเปลี่ยนมอเตอร์หมุนแผ่นควรทำเครื่องหมายเดิมเอาไว้ หรือกะระยะให้พอดีกับของเดิม ไม่เช่นนั้นจะทำให้หลงทางไปเปลี่ยนหัวเปลี่ยนบอร์ด เพราะบางเครื่องก็อ่านได้บ้างไม่ได้บ้างก็มีหรือแทรคแรกอ่านได้แทรคต่อมาอ่านได้บ้างไม่ได้บ้าง จึงเป็นปัญหายากที่จะวิเคราะห์ได้ ถ้าสงสัยว่าหัวอ่านเสียหรือไม่ ควรใช้สโคป วัดสัญญาณ EFM ตามรูปหน้า 44 ก่อนจะตัดสินใจเปลี่ยนหัว











เมื่อเปลี่ยนมอเตอร์ใหม่ ให้นำการ์ดมารองเวลาใส่ Spin motor
เกิดจาก มอเตอร์หมุนแผ่นเสีย มอเตอร์เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด NO DISC ได้ ที่เคยพบไม่ได้เสียเพราะไม่หมุน จะเสียแบบหมุนได้ แต่มีอาการสะดุด หรือหมุนไม่คงที่ ไม่นิ่มตลอดจึงทำให้ได้สัญญาณจากแผ่นไม่ดี บางครั้งจะสังเกตเห็นภาพเดิม ๆ หยุด ๆ หรือภาพสะดุด สาเหตุมาจากมอเตอร์หมุนแผ่น เสื่อมสภาพ


















รายละเอียดขาต่าง ๆ ของไอซีควบคุมกลไกของหัว CD ที่ใช้มากที่สุดในเครื่อง VCD
ให้สังเกตถึงความแตกต่าง เช่น ขา 1 และ 2 มีขั้ว + - กลับกัน ขอให้นำไปปฏิบัติ ตรวจวัดให้ถูกต้อง
ไอซีไดร์ KA9259

ไอซีไดร์ BA6392P
ขา
หน้าที่
รายละเอียด
ขา
หน้าที่
รายละเอีด
1
FO-
ต่อโฟกัสคอยส์ -

1
FO+
ต่อโฟกัสคอยส์ +
2
FO+
ต่อโฟกัสคอยส์ +

2
FO-
ต่อโฟกัสคอยส์ -
3
FI 1
สัญญาณส่งปรับโฟกัส

3
OUT
ว่าง
4
FI 2
ว่าง

4
FRDR
สัญญาณสั่งโฟกัสยกเลนส์ขึ้น
5
REB
ว่าง

5
FFER
สัญญาณสั่งโฟกัสยกเลนส์ลง
6
REO
ว่าง

6
V REF IN
แรงไฟเปรียบเทียบ
7
MUTE


7
VCC2
ไฟ ½ ไฟ VCC

SINK
ปีกระบายความร้อน


SINK
ปีกระบายความร้อน
8
GND1
กราวน์ขาที่ 1

8
GND
กราวน์
9
LOAD I 1
ต่อมอเตอร์ขับถาด ซีดี+

9
TRDR
สัญญาณสั่งแทรคกิ้งคอยส์เลื่อนหัวเข้า
10
SP IN
สัญญาณสั่งหมุนแผ่น

10
TFDR
สัญญาณสั่งแทรคกิ้งคอยส์เลื่อนหัวออก
11
SP+
ต่อมอเตอร์ดิสก์+

11
OUT
ว่าง
12
SP-
ต่อมอเตอร์ดิสก์-

12
TO+
ต่อเลนส์แทรคกิ้งคอยส์+
13
GND 2
กราวนด์ขาที่ 2

13
TO-
ต่อเลนส์แทรคกิ้งคอยส์-
14
LOAD I2


14
GND
กราวน์
15
LOAD O+
ต่อมอเตอร์ขับถาดซีดี+

15
MUTE

16
LOAD O-
ต่อมอเตอร์ขับถาดซีดี-

16
SL+
ต่อมอเตอร์สเลด+
17
SL-
ต่อมอเตอร์สเลด-

17
SL-
ต่อมอเตอร์สเลด-
18
SL+
ต่อมอเตอร์สเลด+

18
OUT
ว่าง
19
SL IN
สัญญาณสั่งเลื่อนหัวซีดี

19
SRDR
สัญญาณสั่งเลื่อนหัวถอยหลัง
20
LDCTL
ไฟควบคุมความเร็วมอเตอร์ขับถาด

20
SFDR
สัญญาณสั่งเลื่อนหัวเดินหน้า
21
VCCI
ไฟบวกเลี้ยงไอซี ชุดที่ 1

21
VCC
ไฟ B+ เลี้ยงวงจร

SINK
ปีกระบายความร้อน


SINK
ปีกระบายความร้อน
22
VCC2
ไฟบวกเลี้ยงไอซี ชุดที่ 2

22
VCC
ไฟ B+ เลี้ยงวงจร
23
VREF
แรงไฟเปรียบเทียบ

23


24
T I 1
ว่าง

24
MDP
สัญญาณสั่งมอเตอร์หมุนแผ่น
25
T I 2
สัญญาณสั่งเลื่อนแทรค

25
OUT
ว่าง
26
TO+
ต่อแทรคดิ้งคอยส์+

26
SP+
ต่อสปินเดิลมอเตอร์
27
TO-
ต่อแทรคดิ้งคอยส์-

27
SP-
ต่อสปินเดิลมอเตอร์
28
GND3
กราวนด์ชุดที่ 3

28
GND
กราวน์








ตารางเบอร์หัว CD ที่ใช้กับเครื่องเล่น CD และ VCD ทั่วไป
ทุกหัวสามารถแปลงเล่น VCD ได้ดีทั้งภาพและเสียง

เบอร์ของหัว CD
ใช้กับเครื่องเล่น
ยี่ห้อ
Optima-7S
VCD-CD
JVC Toshiba
H8147AF
CD
Sharp Kenwood
H8151AF
CD
Sharp Kenwood
Optima-6S
CD
JVC
SOH-A1U
VCD-CD
Singer
SF-P101N
CD
Sharp Kenwood Pioneer
SF-91
CD
Sanyo Sharp
CDM-121,VAM-1201
CD
Philips Aiwa Maranz
KSM-440AEM
Game
Sony
KSS-240A
CD
Sony Aiwa
KSS-210A
CD
Sony Aiwa Yamaha
KSS-213
VCD-CD ใช้มาก
Sony Aiwa Kenwood


แต่ในปัจจุบัน CD และ VCD เริ่มจะมีความนิยมลดลงแล้วเนื่องจาก อุปกรณ์ประเภท DVD มีราคาถูกลงมากโดยมีราคาต่ำกว่า 1000 บาทก็มีจำหน่ายแล้ว จึงจำเป็นที่นักเรียนทุกคนควรจะเริ่มหันมาศึกษาเรื่องของ DVD ให้มากขึ้น และ VCD เองถ้ามีการซ่อมแล้วราคาแพง ลูกค้าก็คิดดูว่าควรจะซื้อเครื่องใหม่ดีกว่าไหม ในการทำตลาดเพื่อซ่อมจึงไม่ค่อยมีแล้ว แต่ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ กอบกับขณะนี้ หนังสือเกี่ยวกับ DVD ก็มีมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะได้ศึกษาหาความรู้ในบทต่อไป